วันพุธที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

การคุมกําเนิด


ยาฉีดคุมกําเนิด

ยาฉีดคุมกําเนิดเป็นฮอร์โมนสังเคราะห์ที่ออกฤทธิ์ได้นานที่นิยมใช้มากเป็นพวกDMPA (Depsmedroxy Progesterone Acetate) ขนาด 150 มิลลิกรัม ฉีดทุก ๆ 3 เดือนยาฉีดคุมกําเนิด สามารถป้องกันการตั้งครรภ์และออกฤทธิ์ได้เช่นเดียวกับยาเม็ด

คุมกําเนิดอย่างไรก็ตาม ผู้ที่ควรใช้ยาฉีดคุมกําเนิดได้แก่

1. ผู้ที่มีบุตรเพียงพอแล้ว และกลัวการทําหมัน

2. เคยใช้วิธีการคุมกําเนิดแบบอื่นๆ แล้วมีอาการข้างเคียงมาก

3. เป็นโรคเรื้อรังและไม่ควรมีบุตรอีก เช่น โรคไต โรคหัวใจ เป็นต้น

4. เป็นโรคซึ่งไม่เหมาะที่จะใช้วิธีคุมกําเนิดแบบอื่น เช่น มีเนื้องอกที่มดลูก

5. อยู่ในช่วงของการให้นมบุตร

สําหรับผู้ที่ไม่ควรใช้ยาฉีดคุมกําเนิด ได้แก่

1. ผู้ที่ยังไม่มีบุตร ผู้ที่อายุน้อยหรือประจําเดือนมาไม่เป็นปกติ

2. มีเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอดโดยไม่ทราบสาเหตุ

3. ตั้งครรภ์หรือสงสัยว่าจะตั้งครรภ์

4. เป็นมะเร็งหรือสงสัยว่าจะเป็นมะเร็งที่อวัยวะสืบพันธุ์

5. เป็นโรคตับ หรือเป็นโรคเบาหวาน หรือมีไขมันในเลือดสูง




ยาเม็ดคุมกําเนิด

ยาเม็ดคุมกําเนิดประกอบด้วยฮอร์โมน 2 ชนิด คือ เอสโตรเจน (estrogen) และ

โปรเจสโตเจน (progestogen) เป็นฮอร์โมนสังเคราะห์ที่มีคุณสมบัติคล้ายคลึงกับฮอร์โมนเพศหญิงซึ่งทําเป็นเม็ดและบรรจุในแผงที่ป้องกันความชื้นได้ ยาเม็ดคุมกําเนิดเป็นวิธีคุมกําเนิดที่ใช้กันแพร่หลาย และสามารถแบ่งตามส่วนประกอบของฮอร์โมนได้ 2 ชนิด

ยาเม็ดคุมกําเนิดป้องกันการตั้งครรภ์โดย

1. ป้องกันไม่ให้ไข่สุกและไม่มีการตกไข่ของฝ่ายหญิง

2. เมือกปากมดลูกของฝ่ายหญิงจะเหนียวข้น ทําให้เชื้ออสุจิของฝ่ายชายเดินทางเข้า

ไปในโพรงมดลูกและหลอดมดลูกได้ยาก

3. เยื่อบุโพรงมดลูกจะบาง ไม่เหมาะต่อการฝังตัวของไข่ที่อาจจะเกิดผสมกับเชื้ออสุจิ

4. ความสามารถของเชื้ออสุจิที่ไปผสมกับไข่ได้ลดน้อยลง

การใช้ยาเม็ดคุมกําเนิด ควรเริ่มจากการเลือกใช้ยาที่ประกอบด้วยฮอร์โมนขนาดน้อยที่

สุด และเริ่มกินยาตามวิธีการต่อไปนี้

1. ขณะมีประจําเดือน เริ่มกินยาเม็ดแรกในช่วง 1-5 วันขณะที่มีประจําเดือน แล้วกิน

ต่อไปทุกวันจนหมดแผง

2. หลังคลอดบุตร ควรเริ่มกินยา 4-5 สัปดาห์หลังคลอด ผู้ที่ไม่ได้เลี้ยงบุตรด้วย

นํ้านมของตนเอง หรือจะมีการร่วมเพศก่อน ควรเริ่มต้นกินยาเม็ดคุมกําเนิดเร็วขึ้น คือ ในสัปดาห์ที่ 2-3หลังคลอด

3. หลังแท้งบุตร เริ่มกินยาเม็ดคุมกําเนิดภายหลังแท้ง 2-3 สัปดาห์ สําหรับผู้ที่แท้ง

ก่อน 3 เดือน อาจมีการตกไข่ทันทีภายหลังแท้ง ถ้าจะมีการร่วมเพศก็ควรเริ่มกินยาเม็ดคุมกําเนิดทันทีหลังแท้งบุตร



ยาฝังคุมกําเนิด

ยาฝังคุมกําเนิด (implant) เป็นฮอร์โมนโปรเจสโตรเจนบรรจุหลอดฝังไว้ใต้ผิวหนังแล้ว

ฮอร์โมนจะซึมเข้ากระแสโลหิตในอัตราคงที่ เป็นขนาดฮอร์โมนที่น้อยที่สุดซึ่งสามารถออกฤทธิ์

ป้องกันการตกไข่ได้ โดยจะออกฤทธิ์ได้นาน 1 – 5 ปี

ข้อแนะนําก่อนฝังยาคุมกําเนิด ได้แก่

1. อาจมีประจําเดือนผิดปกติ เช่น เลือดออกกะปริดกะปรอย ประจําเดือนมาไม่

สมํ่าเสมอ ประจําเดือนมาน้อยหรือไม่มาเลย

2. อาการข้างเคียงอื่นๆ เช่น นํ้าหนักตัวเพิ่มขึ้น บางรายอาจมีฝ้าขึ้นที่ใบหน้า ปวดศีรษะ

อารมณ์เปลี่ยนแปลง บางรายอาจมีปัญหาบริเวณที่ฝังยาอักเสบ หรือติดเชื้อ

ข้อดีของการใช้ยาฝังคุมกําเนิด

1. ประสิทธิภาพการคุมกําเนิดสูง ใช้ง่าย รับบริการครั้งเดียวสามารถคุมกำเนิดได้นานถึง5 ปี

2. ปลอดภัยจากอาการแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายต่าง ๆ เช่น ความดันโลหิตสูง

3. เมื่อต้องการมีบุตรอีกสามารถตั้งครรภ์ได้ทันทีหลังถอดยาฝังคุมกําเนิด

4. ไม่มีผลเสียต่อปริมาณและคุณภาพของนํ้านมมารดา จึงสามารถใช้ได้ในสตรีหลังคลอด 6 สัปดาห์ขึ้นไปที่ให้นมบุตร

ข้อเสียของการใช้ยาฝังคุมกําเนิด

1. ราคาแพง

2. มีอาการข้างเคียงต่าง ๆ เช่น ประจําเดือนผิดปกติ ปวดศีรษะ

3. ไม่เป็นโรคตับ เบาหวาน หรือเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอง

4. ผู้ให้บริการต้องเป็นแพทย์หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่ได้รับการฝึกอบรมแล้วสามารถให้บริการได้

5. มีแผลตรงตําแหน่งที่ฝังยา
เรียนรู้ “ชนิดของยาเสพติด”
ยาเสพติด

แบ่งได้ตามลักษณะที่หลากหลาย
ยาเสพติด สามารถแบ่งได้ ตามลักษณะต่างๆ ดังนี้

ก. แบ่งตามแหล่งที่เกิด ได้แก่
1. ยาเสพติดธรรมชาติ (Natural Drugs) คือ ยาเสพติดที่ผลิตได้มาจากพืช เช่น ฝิ่น กระท่อม กัญชา
2. ยาเสพติดสังเคราะห์ (Synthetic Drugs) คือ ยาเสพติดที่ผลิตขึ้นด้วยกรรมวิธีทางเคมี เช่น เฮโรอีน แอมเฟตามีน

ข. แบ่งตามพราะราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 ได้แก่
ประเภท 1 ยาเสพติดให้โทษชนิดร้ายแรงไม่เป็นประโยชน์ทางการแพทย์ เช่น เฮโอีน (Heroin) แอมเฟตามีน (Amphetamine) เมทแอมเฟตามีน (Metham phetamine) แอลเอสดี (LSD) เอ็คซ์ตาซี (Ecstasy) หรือ MDMA

ประเภท 2 ยาเสพติดให้โทษทั่วไป เช่น ฝิ่น (Opium) มอร์ฟีน (Morphine) โคเคนหรือโคคาอีน เมทาโดน (Methadone)

ประเภท 3 ยาเสพติดให้โทษที่มียาเสพติดให้โทษประเภท 2 ผสมอยู่ เช่น ยาแก้ไอที่มีโคเดอีนผสมอยู่

ประเภท 4 สารเคมีที่ใช้ในการผลิตยาเสพติดให้โทษประเภท 1 หรือประเภท 2 เช่น อะเซติคแอนไฮไดรด์ (Aceticanhydride) อะเซติลคลอไรด์ (Acetylchloride) เอทิลิดีนไดอาเซเตด (Ethylidinediacetate) ไลเซอร์จิค อาซิค (Lysergic Acid)

ประเภท 5 ยาเสพติดให้โทษที่มิได้เข้าอยู่ในประเภท 1 ถึงประเภท 4 เช่น พืชกัญชา พืชกระท่อม พืชผิ่น (ซึ่งหมายความรวมถึงพันธุ์ฝิ่น เมล็ดฝิ่น กล้าฝิ่น ฟางฝิ่น พืชเห็ดขี้ควาย)


ค. แบ่งตามการออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท ได้แก่

1. ยาเสพติดประเภทกดประสาท เช่น ฝิ่น มอร์ฟีน เฮโรอีน ยากล่อมประสาท สารระเหย

2. ยาเสพติดประเภทกระตุ้นประสาท เช่น แอมเฟตามีน กระท่อม โคคาอีน

3. ยาเสพติดประเภทหลอนประสาท เช่น แอลเอสดี ดีเอ็มที เห็ดขี้ควาย

4. ยาเสพติดประเภทออกฤทธิ์ผสมผสาร (อาจกด กระตุ้นหรือหลอนประสทร่วมกัน) เช่น กัญชา

ง. แบ่งตามองค์การอนามัยโลก

องค์การอนามัยโลกได้จัดแบ่งยาเสพติดออกเป็น 9 ประเภท ได้แก่

1. ประเภทฝิ่น หรือ มอร์ฟีน รวมทั้งยาที่มีฤทธิ์คล้ายมอร์ฟีน เช่น ฝิ่น มอร์พีน เฮโรอีน เพธิดีน

2. ประเภทบาบิทูเรทรวมทั้งยาที่มีฤทธิ์ทำนองเดียวกัน เช่น เซโคบาร์บิตาล อะโมบาร์บิตาล พาราลดีไฮล์ เมโปรบาเมท ไดอาซีแพม คลอไดอาชีพอกไซด์

3. ประเภทแอลกอฮอล์ เช่น เหล้า เบียร์ วิสกี้

4. ประเภทแอมเฟตามีน เช่น แอมเฟตามีน เดกซ์แอมเฟตามีน

5. ประเภทโคเคน เช่น โคเคนใบโคคา

6. ประเภทกัญชา เช่น ใบกัญชา ยางกัญชา

7. ประเภทคัท เช่น ใบคัท ใบกระท่อม

8. ประเภทหลอนประสาท เช่น แอลเอสดี ดีเอ็มที เมสคาลีน เมล็ดมอร์นิ่งโกลลี่ ต้นลำโพง เห็ดเมาบางชนิด

9. ประเภทอื่นๆ เป็นพวกที่ไม่สามารถเข้าประเภทใดได้ เช่น ทินเนอร์ เบนซิน น้ำยาล้างเล็บ ยาแก้ปวด บุหรี่